ติดต่อเรา
156 หมู่ 3 ตำบลดอนมูล
อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ 54130
มือถือ 08-7189-4338
Email: [email protected]

Hit Counter

Last updated: 21 June 2014 09:23 AM

 

ปัญหาและอุปสรรค์ในการพัฒนาสุนัขในประเทศไทย

  1. บรีดเดอร์ของไทยส่วนใหญ่ไม่มีจริยธรรม Ethic
  2. บรีดเดอร์ของไทยส่วนใหญ่ขาดความรับผิดชอบต่อพันธุ์ Breed responsibility
  3. บรีดเดอร์ของไทยส่วนใหญ่ไม่ปกป้องพันธุ์ Breed Protection
  4. บรีดเดอร์ของไทยส่วนใหญ่ไม่มีจิตศึกษา Leaning mind
  5. บรีดเดอร์ของไทยส่วนใหญ่ไม่มีจิตพัฒนา Development mind
  6. บรีดเดอร์ของไทยมีความเป็นอัตตาสูง Super Ego

บรีดเดอร์ของไทยส่วนใหญ่ขาดความรับผิดชอบต่อพันธุ์ Breed responsibility โดเบอร์แมนเป็นสุนัขที่มีโรคทางพันธุกรรมเช่นเดียวกับสุนัขพันธุ์แท้พันธุ์อื่น ๆ เช่นโรคข้อสะโพกพิการ (Hip dysplasia, HD), โรคเกี่ยวกับตา, และโรคทางพันธุกรรมที่ต้องตรวจผ่าน DNA เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม (Dilated Cardiomyopathy, DCM) และ โรคเลือดแข็งตัวช้า (von Willibrand Disease-Type III, vWD), เป็นต้น หากมีการตรวจสอบก็จะทราบระดับของโรค สามารถวางแผนการผสมพันธุ์ได้ถูกต้อง และสามารถป้องกันการแพร่กระจายของโรค ซึ่งนักผสมพันธุ์ที่ดีมีความรับผิดชอบควรจะทราบว่าสุนัขที่จะใช้ในการผสมพันธุ์มีระดับของโรคทางพันธุกรรมระดับใด ควรจะผสมกับคู่ผสมที่มีโรคฯ ระดับใด เพื่อฝังสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ไม่ให้แพร่กระจายต่อไป  

บรีดเดอร์ของไทยส่วนใหญ่ไม่มีจริยธรรม Ethic จะเห็นได้จากการสรวมครอกลูกสุนัข เอาลูกสุนัขจากที่อื่นมาสรวมเป็นลูกของพ่อตัวนั้นหรือแม่ตัวนี้เพื่อที่จะปั่นราคาได้สูงขึ้น

 บรีดเดอร์ของไทยส่วนใหญ่ไม่มีจิตพัฒนา Development mind การพัฒนาโดเบอร์แมนในประเทศไทยเป็นไปอย่างหัวมงกุฎท้ายมังกร มีการนำเข้าโดเบอร์แมนมาประมาณ 40 กว่าปีมาแล้ว แต่เป็นไปอย่างไร้ทิศทาง ขาดเป้าหมายในการพัฒนาพันธุ์ ส่วนใหญ่นำเข้ามาเพื่อการค้า และโดเบอร์แมนที่นำเข้าส่วนมากเป็นสุนัขคัดทิ้ง สุนัขที่เข็นไม่ขึ้น หรือสุนัขที่มีปัญหา

 บรีดเดอร์ของไทยมีความเป็นอัตตาสูง Super Ego เป็นอุปสรรค์ที่ขัดขวางการพัฒนาโดเบอร์แมนในประเทศไทยอย่างยิ่ง การผสมพันธุ์ทำกันในวงแคบ ๆ ผสมกับสุนัขภายในคอกวนไปเวียนมา การผสมในสายเลือดชิดมีทั้งข้อดีและข้อเสีย การผสมในสายเลือดชิดจะเป็นการพัฒนาพันธุ์สัตว์ที่มีปะโยชน์ หากบรีดเดอร์มีความรู้ถึงข้อดีข้อเสียของสัตว์ที่จะใช้ในการผสมพันธุ์ และยังเป็นการคงลักษณะและพฤติกรรมที่ดีของสัตว์ แต่หากผู้ผสมพันธุ์ไม่มีความลึกซึ้งถึงข้อจำกัดของสัตว์ที่จะนำมาผสมพันธุ์ก็จะเป็นการขยายลักษณะและพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้

ครั้นจะผสมกับสุนัขจากคอกอื่นก็กลัวเสียเหลี่ยม เพราะตัวเองได้สร้างวีรกรรมไว้เยอะ ครั้นจะนำเข้าสุนัขเพื่อปรับปรุงสายพันธุ์ก็มองว่าไม่คุ้ม การพัฒนาสุนัขเป็นการลงทุนที่ต้องใช้เวลา เงิน ความอดทน ความมุ่งมั่นไม่มีสุนัขตัวใดที่สมบูรณ์แบบ ในสุนัขแต่ละตัวจะต้องมีข้อบกพร่องในบางจุดเหมือนกับมนุษย์

 บรีดเดอร์ของไทยส่วนใหญ่ไม่ปกป้องพันธุ์ Breed Protection โดเบอร์แมนได้ถูกพัฒนาขึ้นมา 150 กว่าปีแล้ว มีการศึกษาคัดพันธุ์ ขจัดและฝังข้อบกพร่องต่าง ๆ ของโดเบอร์แมนมาโดยตลอด จนได้โดเบอร์แมนที่มีคุณลักษณะยอดเยี่ยมในปัจจุบัน(ในยุโรป) เมื่อนำโดเบอร์แมนเข้ามาในประเทศไทยโดยมีวัตถุประสงค์ในทางการค้าเป็นหลัก ไม่มีการดำเนินการรักษาระดับคุณภาพของพันธุ์ดังที่บรีดเดอร์ในยุโรปได้ทุ่มเททำมาตลอด ทำให้คุณภาพด้อยลงเป็นลำดับ ซึ่งในระยะยาวโดเบอร์แมนของไทยจะไม่เป็นที่ยอมรับและสามารถกลับเข้าสู่ระดับสากลได้ เนื่องจากการขาดช่วงของการตรวจสอบทางสายพันธุ์ ขาดการตรวจสอบด้านสุขภาพ และขาดการตรวจสอบความสามารถในการใช้งาน ทำให้โรคทางพันธุกรรมเพิ่มระดับความรุนแรง หากจะกลับเข้าสู่ระดับสากลในอนาคตต้องใช้เวลาปรับปรุงกันหลายชั่วอายุสุนัข

 บรีดเดอร์ของไทยส่วนใหญ่ไม่มีจิตศึกษา Leaning mind คนไทยส่วนใหญ่ไม่มีนิสัยรักการอ่าน ทำให้เป็นอุปสรรค์ในการพัฒนาพันธุ์โดเบอร์แมนในประเทศไทย  การพัฒนาพันธุ์สุนัขเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ 1 + 1 อาจจะไม่เท่ากับ 2 เสมอไป หากไม่มีการศึกษาค้นคว้า ความเข้าใจในสายพันธุ์ ความเข้าใจในหลักพันธุกรรม

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นความแตกต่างของบรีดเดอร์ Breeder กับโบรกเกอร์ Broker หรือคนขายหมา

ขอยกเอาอุทาหรมาบอกกล่าว ในการประกวดโดเบอร์แมนโลก IDC 2011 ที่ฮังการี มีสุนัขที่เกิดจากประเทศเซอร์เบีย Serbia สมัครเข้าประกวดทั้งหมด 65 ตัว (ประเทศที่ส่งโดเบอร์แมนมากเป็นอันดับที่ 4 จาก 35 ประเทศ รวมสุนัขทั้งหมด 666 ตัว) ซึ่งนับว่ามีโดเบอร์แมนส่งเข้าประกวดมากที่สุดเท่าที่เคยมีการจัดประกวดมา  สุนัขที่มีเพดิกรีของสมาคมฯ จากประเทศเซอร์เบีย Serbia เกือบทั้งหมดถูกคัดชื่ออกจากการประกวด (กว่า 50 ตัว)

งานนี้บรีดเดอร์ที่ดีก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะความเห็นแก่ได้ของคนบางกลุ่มและความหละหลวมในกระบวนการขึ้นทะเบียนของสมาคมที่รับผิดชอบ ในยุโรปมักมีคำกล่าวในวงการว่า “ทุกสิ่งซื้อได้ที่เซอร์เบีย”..........แล้วประเทศไทยหละ?

 

Back to articles page