ติดต่อเรา
156 หมู่ 3 ตำบลดอนมูล
อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ 54130
มือถือ 08-7189-4338
Email: [email protected]

Hit Counter

Last updated: 21 June 2014 09:23 AM

 

 

คำสั่งพื้นฐานในการฝึกเชื่อฟังคำสั่ง

ควรจะเรียนรู้อะไรบ้าง

สุนัขทุกตัว โดยเฉพาะพันธุ์ขนาดใหญ่ เช่นโดเบอร์แมน ควรจะได้รับการฝึกเชื่อฟังคำสั่งขั้นพื้นฐาน เช่นคำสั่ง “ไม่ ปล่อย รอ พัก มา นั่ง หมอบ คอย และไม่เห่า” โดเบอร์แมนที่สามารถตอบสนองต่อทุกคำสั่งเหล่านี้ จะทำให้เจ้าของสามารถควบคุมได้ง่ายขึ้น การควบคุณนี้สะท้อนถึงการเป็นโดเบอร์แมนที่มีความสุขขึ้น สามารถปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว และเป็นโดเบอร์แมนที่ดี สุภาพ เมื่ออยู่ภายนอกบ้านด้วย

เมื่อโดเบอร์แมนได้เรียนรู้คำสั่งเหล่านี้แล้ว จะทำให้โดเบอร์แมนมีความปลอดภัย โดยเฉพาะ คำสั่ง ”ไม่” และ “มา” จะสามารถป้องกันโดเบอร์แมนได้จากอันตรายได้ ดังนั้นเจ้าของจึงควรสนใจตกการฝึกโดเบอร์แมนของตน

ไม่ No

คำสั่ง “ไม่” เป็นคำสั่งที่ทำให้โดเบอร์แมนปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสุนัขที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน การใช้เสียงสำหรับการแก้ไขเป็นสิ่งที่เหมาะสม ส่วนการแก้ไขทางร่างกายอาจทำให้เกิดความเสียหายและก่อให้เกิดปัญหาได้ในอนาคต

คำสั่ง “ไม่” ควรใช้ด้วยเสียงดังลึกและด้วยความมั่นใจผสมแสดงถึงความโกรธ อย่าใช้พร่ำเพรื่ออาจไม่ได้ผล

โดยสัญชาตญาณลูกสุนัขจะตอบสนองต่อการส่งสัญญาณ ”ไม่” ที่ถูกต้องอย่างที่แม่ของมันกระทำ เช่นเห่าเสียงต่ำแหลม อาจจะรวมกับการงับเบา ๆ ที่กล้ามเนื้อ

ลูกโดเบอร์แมนมีความกล้าหาญมาก และอาจไม่ตอบสนองต่อคำสั่ง “ไม่” ธรรมดา หากเป็นเช่นนี้โดเบอร์แมนอาจเข้าใจว่าเป็นคำสั่งเห่าเล่น หรือไม่รู้อะไรเลย และอาจจะลองดีกับเจ้าของก็ได้

ดังนั้นเจ้าของโดเบอร์แมนต้องมั่นใจว่าคำสั่ง “ไม่” นั้นมีความลึก แหลม ดัง อาจรวมถึงการแสดงภาษากายด้วย การยืนคล่อมตัวลูกสุนัขเป็นการแสดงความมีอิทธิพลที่เหนือกว่า หรืออาจตบมือ กระทืบเท้า กระแทกที่คอ หรือบีบน้ำใส่หลังจาก “ไม่” เป็นการช่วยเสริมคำสั่ง

การจับกระแทกที่คอเหมือนกับที่แม่ของมันทำการแก้ไขลูกสุนัขเป็นการแก้ไขที่ผู้ที่มีอิทธิพลเหนือกว่ากระทำต่อผู้ที่ด้อยกว่าในฝูง เราใช้การจับที่หนังคอด้านบนด้วยหัวแม่มือกับสองนิ้วจับโดยเร็ว แต่หากใช้ผิดจะก่อให้เกิดผลเสียได้ ควรใช่ต่อเพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ดีพร้อมกับเสียงดังและจริงจังที่สุดเท่าที่ทำได้

ปล่อยมัน  Leave-It

คล้าย ๆ กับคำสั่ง “ไม่” และควรสั่งด้วยน้ำเสียงที่ดัง แหลม ลึก ความแตกต่ากับคำสั่ง “ไม่” คือ เป็นการสือสารถึงลูกโดเบอร์แมนว่าสิ่งที่มันเห่าหรือกร้าวร้าวใส่นั้น ให้เลิกเสีย

เมื่อใดที่พาลูกโดเบอร์แมนออกนอกบ้าน ควรสรวมด้วยปลอกคอกระตุก เมื่อใดที่มันเห่าหรือคำรามใส่สุนัขอื่น แมว หรือผู้คน คำสั่ง “ปล่อยมัน” พร้อมทั้งกระตุกที่ปลอกคอ

เมื่อลูกโดเบอร์แมนได้เข้าใจถึงคำสั่ง “ปล่อยมัน” การใช้คำสั่งนี้ควรใช้ก่อนที่พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องจะเกิดขึ้น เจ้าของโดเบอร์แมนจะสังเกตุกริยาของสุนัขตนว่ากำลังเร่าร้อน และกำลังจะสร้างปัญหา ในขณะนี้ ก่อนที่เหตุการณ์จะเริ่มขึ้น เจ้าของจะสั่ง “ปล่อยมัน” คำรามด้วยเสียงต่ำกัดฟัน เมื่อสุนัขได้รับคำสั่งจะเลิกสนใจต่อสิ่งที่กำลังกวนใจมัน หากยังไม่เป็นผล เพิ่มความจริงจังพร้อมทั่งการกระตุกปลอกคอ

เวลาที่ดีที่สุดในการแก้ไข คือก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น ด้วยคำสั่ง “ปล่อยมัน” จะทำให้สุนัขคลายความกังวล และผ่อนคลาย อีกทั้งยังยินยอมต่อเจาของในฐานะผู้นำฝูง

รอ Wait

คำสั่ง “รอ” เป็นการสอนให้ลูกสุนัขรอคำสั่งต่อไป เช่น เราพาสุนัขเรากลับมาจากฝนตก ก่อนจะพาเข้าประตูบ้านสั่งใ “รอ” เพื่อเช็ดตัว ทำความสะอาดก่อนที่จะเข้าบ้าน หรือให้นั่งรออยู่ในรถจนกว่าเจ้าของจะพร้อมที่จะพามันลงจากรถ

การฝึกคำสั่ง “รอ” ควรกระทำร่วมกับการฝึกคำสั่งอื่น โดยการใส่สายจูงสุนัขให้อยู่ในท่านั่ง แบมือบังที่หน้าของสุนัขแล้วใช้คำสั่ง “รอ” ก่อนที่จะเดินจากไป แต่ดูที่สุนัขตลอดว่ายังอยู่ที่เดิม หากลุกจากท่าที่นั่ง ให้ใช้คำสั่ง “ไม่” และกระตุกที่ปลอกคอ หากปฏิบัติตามให้ชมเชยเบา ๆ ก็เพียงพอ แต่ต้องไม่ทำให้มันตื่นเต้นจนลุกออกจากท่าที่นั่ง  

เมื่อเดินห่างออกมาประมาณ 3 เมตร รอสักพัก แล้วใช้คำสั่ง “มา” เรียกสุนัขมาหาเมื่อสนองตอบดี ให้ชมเชยเต็มที่

การสั่ง ”รอ” อาจสอนได้ดีโดยเอาขนมแตะที่จมูก ออกคำสัง “รอ” แล้ววางขนมลง ให้สุนัขรอสักพัก แล้วออกคำสั่ง “โอเค” เพื่อปล่อยให้สุนัขได้กินขนมได้

พัก หรือ โอเค Release “OK”

การใช้คำสั่ง "พัก หรือ โอเค” เพื่อให้สุนัขเข้าใจว่ามันไม่ได้อยู่ในคำสั่งใด ๆ และสามารถพักผ่อนจากท่านั่ง หมอบ คอย ยืน เป็นต้น เป็นสิ่งสำคัญที่ปล่อยให้สุนัขพ้นจากคำสั่ง และเล่นกับมันหลาย ๆ ครั้ง เพื่อลดความเครียด และความเบื่อ หมายถึงปล่อยให้มันเป็นอิสระเป็นระยะเวลาสั้น 1-2 นาที ก็เพียงพอแล้ว อีกทั้งยังสื่อสารให้สุนัขได้รู้ว่าเราเสร็จการฝึกสำหรับเวลานี้แล้ว มันสามารถที่จะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ

 

Back

Next